ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระดับเอเชีย
Game Changers ASIA forum 2023

1. ประเด็นสำคัญอะไรที่ได้เห็นความคืบหน้าในเรื่องนี้

  • Mid SDGs กับความท้าทายของมวมนุษยชาติในการเตรียมความพร้อมรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจ สังคมและวิกฤติสิ่งแวดล้อมในระหว่างทศวรรษสุดท้ายสู่การบรรลุเป้าหมายเยียวยาโลกสู่สมดุลในปี 2030
  • ถึงแม้ ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคสังคมจะตื่นตัว และมีกรอบมาตรฐาน ESG / SD ต่างๆ เเพื่อสร้างแนวปฏิบัติไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน  แต่เราตระหนักดีว่า การได้รายงาน ฟอร์มและมาตรฐานที่สวยงาม อาจไม่ตอบโจทย์ “การเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ความยั่งยืน” ที่มีข้อท้าทายสำคัญคือการสร้างความร่วมมือของคนและหน่วยงานภายในองค์กร ตลอดจนการผสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง บูรณาการและผนึกพลังไปสู่ “การเปลี่ยนแปลงและสัมฤทธิ์ผล” ในการแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างแท้จริง
  • การสร้าง “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” ที่จะเชื่อมผสาน “ความหลากหลาย” ของมุมมองแนวคิด เป้าหมาย ความสนใจของหน่วยงานและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คือทางออกที่จะจุดประกายความมุ่งหมายร่วม “Purpose” และมีมุมมองกระบวนทัศน์ “Perspective” ที่จะดึงดูดและนำพาผู้คน หน่วยงานที่มีความแตกต่าง แยกส่วน เข้าร่วมขบวนการ ท้าทายกรอบเดิมๆ สู่การผลักดัน มาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดี สู่การบรรลุ ความมุ่งหมายร่วม เพื่อรักษาสมดุลของสังคมและโลกใบนี้
  • Adaptive Game Changer Asia (AGC-ASIA) คือการกระเทาะศาสตร์และศิลป์ในกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงของผู้นำระดับโลกที่ไม่เพียงสร้างความแตกต่างในระบบเศรษฐกิจโลก แต่มุ่งนำพาโลกสู่สมการใหม่ที่เกื้อกูลและอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ด้วยการสกัดทฤษฎีและองค์ความรู้ มาสู่แนวทางปฏิบัติ จุดประกายกระบวนทัศน์ใหม่ เสริมทักษะและกลยุทธ์ในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ใน 8 องค์ประกอบสำคัญ ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกองค์กร ทุกระดับ ทุกขนาด ที่เผยเคล็ดลับความสำเร็จของศาสตร์และศิลป์ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดผลกระทบวงกว้างสู่มวลชน
  • 8 องค์ประกอบสำคัญ ที่ถอดเอาบทเรียนความสำเร็จของนักสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กรสำคัญทั่วโลกมาสู่แนวปฏิบัิติเป็นขั้นเป็นตอน พร้อมแนวปฏิบัิตที่สามารถนำไปประยุต์ได้จริง ได้แก่
    • PURPOSE การกำหนดความหมายและเป้าประสงค์ของการดำเนินงานขององค์กรที่ไปไกลกว่าภารกิจ หรือ BAU ในระดับองค์กร เชื่อมโยงศักยภาพองค์กรไปสู่เป้าหมายสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหางเสือในการกำหนดทิศขององค์กร
    • PERSPECTIVE การมีมุมมองแบบ Adaptive Journey ที่เปิดกว้างมุมมองการแก้ปัญหาแบบเดิมสู่มุมมองใหม่ที่ มีความเข้าใจปัญหาและตีโจทย์ใหมม่ที่ไปไกลกว่า Techinical Issues ไปสู่ดึงความมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆมาร่วมสร้างสรรค์เส้นทางการขับเคลื่อนไปด้วยกัน
    • CRAFT การวางบทบาทของทีมงานภายในที่ดึงและผสมผสาน PURPOSE กับศักยภาพแรงบันดาลใจและการส่งเสริมการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ตลอดจนการเชื่อมโยงระหว่าง “บทบาท” และ “ตำแหน่ง” เพื่อเชื่อมผสาน Key Players ในการร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน สร้างพื้นที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ CSR /Sustainability/ESG ได้มีบทบาทในกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่าง Inclusive
    • WEAVE การเรียนรู้ความสำคัญและศักยภาพของการสื่อสาร การออกแบบ Ripening Issues และการวางแนวทางการเชื่อมผสานหน่วยงานและผู้คนที่เกี่ยวข้องกับ PURPOSE ในหลากหลายมุมมองและบทบาท มาร่วมสะท้อนประเด็นมุมมอง ความเห็นและแนวทางการจุดประกายความร่วมมือในมวลชนและเครือข่ายที่กว้างขึ้น
    • BUILD เรียนรู้กลยุทธ์การออกแบบ กิจกรรม โครงการ การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ยึดโยง PURPOSE และกลุ่มเป้าหมาย/Beneficiary ที่แท้จริงของการดำเนินงานมาสู่หัวใจและแกนกลางในการดำเนินงานร่วมกันสู่การบูรณาการโมเดล/กรอบการดำเนินงาน ร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก ที่มุ่งสู่เป้าหมายและ Meaningful Impact
    • NAVIGATE การบริหารและนำพาโครงการ/กิจกรรมให้ก้าวผ่านปัญหา อุปสรรค เสริมพลังส่งเสริมแนะนำ และร่วมชี้แนะทิศทางให้แก่ทีมงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระหว่างทางสู่ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง
    • LEARN สร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวยการเรียนรู้เชิงลึกระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างตรงไปตรงมา เพื่อก้าวข้ามความท้าทายจากมุมมองของ “การช่วยเหลือแบบการให้” ไปสู่การพัฒนา การเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายที่จะนำไปสู่ “ความสำเร็จและประสิทธิผล” ที่แท้จริงการกิจกรรม/โครงการของเรา
    • ROOT การปลูกฝังและส่งต่อ วัฒนธรรม / แนวทางการเปลี่ยนแปลงที่มีความยั่งยืนจากระดับของ ”โครงการ/กิจกรรม” ไปสู่ “ระบบ และผู้คนที่เกี่ยวข้อง”
  • เรา AGC – THAILAND ขอเชิญชวนผู้บริหาร ผู้นำ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคสังคม และการศึกษา มาร่วมเดินทางใน ADAPTIVE JOURNEY นี้ไปด้วยกัน เพื่อเป็นผู้จุดประกายในองค์กร ในหน่วยงาน ในสังคมไทย เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า เราต้องการ “คุณ”

2. กรณีศึกษาจากเวทีเสวนา  ที่ได้เห็นความก้าวหน้าและผลลัพธ์ที่ดีของการลงมือ

โครงการ Power To Change โครงการความร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศ โครงการริเริ่ม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง  3 ความท้าทายสำคัญ

– เยาวชน

– ผู้ประกอบการ

– Net ZERO (SCope3)

  • GARMIN กับการลุกขึ้นมาปรับวัฒนธรรมองค์กรและมุ่งสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นแรงผลักดันสำคัญในทุกหน่วยงานสู่ผลลัพธ์ในการทำงานร่วมกันมากขึ้น และมีความชัดเจนของทิศทางขององค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • SCGF : การเชื่อมโยงเป้าหมาย/Purposeของ SCG มาสู่มุมมอง/วิถีของกรอบคิดของ SCG Foundation ซึ่งชัดเจนมากในการพัฒนาคน เกิดขึ้นได้อย่างไร และถึงแม้จะความชัดเจนตรงนี้ แต่ระหว่างเส้นทางเดินทางในการขับเคลื่อนมันชัดเจนเพียงใด ทางคุณสุวิมลมีมุมมองในการนำพาความแตกต่างหลากหลายของคน/หน่วยงานต่างให้นำพาไปสู่การขับเคลื่อนผลักดันการเปลี่ยนแปลง และกรณีศึกษาของ SCGFoundation ในโครงดาร LIVE & EARN
  • Greenery: (CRAFT & WEAVE) ประเด็นเรื่องการบริโภคอย่างยั่งยืน “ผุ้บริโภค” คือหัวใจสำคัญ ไม่แพ้ “ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ” การวางบทบาทของ Key Players ในการร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน และทาง Greenery  สร้างความชัดเจนของบทบาทของ Greenery ในกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร / คุณเอซมีแนวทางการสร้างความตระหนัก และทำให้ประเด็นที่ Greenery ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่เพียง Greenery แต่ขยายไปและสั่นสะะเทือนกับวงของผู้บริโภค หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • EcoLife: (CRAFT & WEAVE) คุณท๊อปมองว่า ECOLife จะมีบทบาทในการสร้าการเปลี่ยนแปลงไปสู่การรักษาสิ่งแวดล้อม ความสมดุลของโลกใบนี้ และองค์ประกอบ/บทบาทของใครที่สำคัญในการร่วมกันเพื่อสร้างแรงกระเพื่อม ประเด็นปัญหาและความท้าทายที่จะให้ “ทุกคน” เห็นเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
  • CODI: (ฺBUILD & NAVIGATE) คุณจันทนา กับบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาองค์กรชุมชน มีแนวทางในพัฒนาองค์กรผู้นำชุมชน / ผู้นำชุมชน / ผู้นำชาวบ้าน ให้ร่วมเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบกิจกรรม/โครงการที่มี Impact ไปสู่กล่มเป้าหมายคนจนทั่วประเทศ และโครงการที่ออกแบบมาอย่างดีนั้นจะสำเร็จจะเกิด IMpact จะก้าวข้ามอุปสรรค และโค้ชให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นใน Approach / แนวทางใดที่เกิดสัมฤทธิผลได้ดี กับกรณีศึกษา ในช่วงวิกฤตโควิด ที่สร้างผู้นำชุมชนเข้มแข็งที่ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  • ใบเตย: (ฺBUILD & NAVIGATE) จากความตั้งใจของเยาวชนคนหนึ่ง น้องใบเตยมีแนวทางในการ “เริ่ม” ออกแบบให้คนเล็กๆ สามารถสร้างโครงการ / Sandee App.และเชื่อมผสานให้คน/หน่วยงานต่างๆ มาร่วมผลักดัน Purpose ของเราได้อย่างไร และมีเทคนิค/แนวทางในการนำพาความตั้งใจนั้น ให้ก้าวข้ามความท้าทาย สร้างทีม ทำงานร่วมกับภาคีไปใน Direction ร่วมกัน ในตัวเองและร่วมกับคน/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. แนวโน้มในเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป

            เป็นผลจากปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

  • เราจะพบแนวทาง เทรนด์ CSR/ SD ที่ไปสู่ ADAPTIVE JOURNEY มากขึ้น 
    • Impact  Oriented รูปแบบที่ไม่สำคัญเท่ากับ ผลลัพธ์ของกิจกรรม/โครงการ สู่สะท้อน PURPOSE และจุดยืนขององค์กร
    • Convergence การบรรจบกันของโมเดลที่ผสานและแนบชิดกันมาขึ้นระหว่าง Business & Social Model
    • Divergence ความหลากหลายและผสมผสานของโมเดลที่จะไม่เป็นรูปแบบ 1 ผู้ให้ หลายผู้รับ แต่จะเป็น Partnership model ที่ก้าวข้ามความต่างมาสู่ PURPOSE เดียวกัน
    • Game Changer เราจะพบผู้คนที่สร้างการเปลี่ยนแปลง ที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของ CSR – SD – ESG Professional แต่จะเป็นผู้ที่สามารถเชื่อมโยงมาตรฐานไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงโมเดลการทำงานแบบเดิมๆ ไปสู่แนวทางใหม่ Regenerative model ร่วมกัน
    • ASIA Movement การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่จะก้าวข้ามระดับองค์กรไปสู่การทำงานร่วมกันในระดับประเทศและภูมิภาคเพื่อออกแบบระบบการทำงาน สมการในการดำเนินธุรกิจที่มีเป้าหมาย คุณค่าสังคมและปัญหาที่ท้าทายร่วมกัน

📫 สนใจเข้าร่วม สอบถามได้ที่ https://share.hsforms.com/1UT3kp38bRL2ry3ljw-IwWQ3f90a?__hstc=184856374.5d64fa291b0b1428d7d6c5e4e64f4c30.1665341891331.1680450059496.1680453977023.19&__hssc=184856374.6.1680453977023&__hsfp=606041089https://forms.gle/kh4VyuHV8RSGaYP79


สอบถามเพิ่มเติม

☎️ 089-680-1233,090-669-3961

📱 https://socialvaluethailand.org

📧 socialvaluethailand@nisecorporation.com 

#agc #ceotalk #agclive #bethechange #sd #gamechangers #asia

รับชมคลิปย้อนหลัง >>>